วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563

✿ เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ มกราคม 2563 (รังที่ 8)

: วันที่ 31 มกราคม 2563 :

     วันที่ 31 มกราคม 2563 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) รับแจ้งจากชุดสำรวจของอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง เวลา 02.30 น. พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่ามะเฟืองที่บริเวณหน้าวิทยาลัยการอาชีพท้ายเหมือง หมู่ 9 ตำบลท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา พื้นที่ดังกล่าวอยู่นอกเขตอุทยานฯ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปทางทิศใต้ประมาณ 2.5 กิโลเมตร วัดความยาวของรอยจากพายซ้ายถึงขวาได้ 180 เซนติเมตร รอยครึ่งอก 80 เซนติเมตร 

     หลุมไข่มีระยะห่างจากระดับน้ำขึ้นสูงสุด 3 เมตร ซึ่งได้พิจารณาแล้วพบว่าหลุมไข่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด จึงทำการย้ายไข่เต่ามาฟักในอุทยานฯ นับจำนวนไข่ได้ทั้งหมด 133 ฟอง ไข่ดี 105 ฟอง และไข่ลม 28 ฟอง ทั้งนี้จะจัดทำคอกกั้นและจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังภัยคุกคามเพื่อปล่อยให้ไข่ได้ฟักตามธรรมชาติต่อไป











ข้อมูลอ้างอิง :





วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2563

✿ D.I.Y. กิ่งไม้ปอมปอมตกแต่งบ้าน

   ของตกแต่งบ้านจากปอมปอมตอนที่สอง แปลงร่างเป็นดอกไม้ในแจกันและต้นไม้เล็ก ๆ  ค่ะ

หมายเหตุ : รูปภาพประกอบนำมาจาก Pinterest ค่ะ

อุปกรณ์

1. ปอมปอมไหมพรม >> วิธีทำปอมปอมไหมพรม <<
2. ปืนกาว หรือจะใช้กาวสารพัดประโยชน์แบบเป็นหลอดก็ได้ค่ะ
3. กิ่งไม้ ถ้าหากิ่งไม้ธรรมชาติไม่ได้ก็สามารถหาซื้อได้ หรือทำเองโดยใช้ลวดดัดค่ะ


วิธีทำ

1. เตรียมกิ่งไม้ ตัดส่วนเกินที่ไม่ต้องการออก
2. ทากาวที่ปอมปอมแล้วนำไปติดที่กิ่งไม้ รอให้กาวแห้งสนิทก็นำไปตั้งโชว์ได้แล้วค่ะ




    เมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมแล้ว วิธีทำก็ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ของแต่งบ้าน DIY สวยไม่เหมือนใคร ชิ้นไหนชำรุดก็ซ่อมได้ง่ายเพราะทุกอย่างมาจากฝีมือเราเอง ทำได้เรื่อย ๆ  ไม่มีเบื่อค่ะ ลองดูรูปตัวอย่างด้านล่างเป็นแนวในการสร้างผลงานกันนะคะ

















แนะนำการแต่งกิ่งไม้

     สามารถแต่งกิ่งไม้ด้วยการพ่นสี เพ้นท์สี หรือพันด้วยไหมพรมค่ะ และยังใช้ลวดดัดให้เป็นกิ่งไม้หรือต้นไม้เล็กได้ ใช้เป็นที่แขวนเครื่องประดับได้ด้วยค่ะ


พ่นสี, ทาสี





เพ้นท์ลาย




พันด้วยไหมพรมหรือไหมชนิดอื่น ๆ





ดัดลวดให้เป็นกิ่งไม้หรือต้นไม้เล็ก











วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563

✿ สรุปการฟักและกลับสู่ทะเลของลูกเต่ามะเฟือง (รังที่ 2 / ลำดับที่ 2)

: วันที่ 21 - 22 มกราคม 2563 :

     วันที่ 21 มกราคม 2563 ต่อเนื่องถึงวันที่ 22 มกราคม 2563 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่6 (พังงา) รวมกับศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน ติดตามดูพัฒนาการของเต่ามะเฟืองจากกล้อง Thermal กล้องตรวจจับความร้อน ว่าลูกเต่ามะเฟืองฟักออกจากไข่และคาดการณ์ว่าจะขึ้นจากหลุมเพื่อลงสู่ทะเลในช่วงกลางดึกของวันที่ 21 มกราคม 2563 ในการนี้ จึงร่วมกับฐานทัพเรือพังงา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช อบต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง และสื่อมวลชน เฝ้าระวังการคลานขึ้นมาจากหลุมทรายของลูกเต่ามะเฟือง ตั้งแต่เวลา 19.30 น. - 20.45 น. พบลูกเต่ามะเฟือง 6 ตัวแรก ขึ้นจากหลุมฟักและลงทะเลโดยวิธีธรรมชาติ จากนั้นเจ้าหน้าที่เฝ้ารอการขึ้นของลูกเต่ามะเฟืองจนถึงเวลา 23.30 น. ก็ไม่มีลูกเต่าตามขึ้นมาอีก จึงเริ่มขุดช่วยเหลือลูกเต่ามะเฟือง และนำปล่อยลงสู่ทะเลได้อย่างปลอดภัย รวม 49 ตัว และยังมีลูกเต่ามะเฟืองที่ต้องรอการอนุบาลเพื่อปล่อยในวันต่อไปอีก 28 ตัว มีลูกเต่ามะเฟืองตาย 3 ตัว และไข่ที่ไม่สมบูรณ์ 21 ฟอง รวมในรังนี้มีไข่เต่า 101 ฟอง จบการปฏิบัติงานในเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันที่ 22 มกราคม 2563





: คลิปวิดีโอ :







: Update 23 มกราคม 2563 :

     ผลการอนุบาลลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักเมื่อวันที่ 21 มกราคม ซึ่งแข็งแรงดีแล้ว จึงเริ่มทยอยปล่อยลงทะเลเพิ่มอีก 10 ตัว ส่วนอีก 14 ตัว ต้องพักฟื้นต่อ





: Update 24 มกราคม 2563 :

     วันที่ 24 มกราคม 2563 กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่6 (พังงา) ร่วมกับอุทยานฯ ฐานทัพเรือพังงา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่ นำลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักเมื่อวันที่ 21 มกราคม ซึ่งแรกฟักออกมายังอ่อนเพลีย จึงอนุบาลต่อไว้จนแข็งแรงดีแล้ว ปล่อยลงทะเลเพิ่มอีก 14 ตัว จนครบทั้งหมดแล้ว รวมจากหาดบ่อดานลงทะเล 77 ตัว






ข้อมูลอ้างอิง :






วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

✿ เต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ มกราคม 2563 (รังที่ 7)

: วันที่ 20 มกราคม 2563 :

     วันที่ 20 มกราคม 2563 จากการแจ้งการพบร่องรอยการวางไข่ของเต่ามะเฟืองของชุดสำรวจการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล ที่บริเวณหาดทรายแก้ว ในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ หมู่ที่ 5 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต พบไข่เต่ามะเฟืองไม่ได้นับจำนวน เนื่องจากผ่านเวลาการวางไข่มาไม่น้อยกว่าสองวันเพราะไข่แดงได้ลอยชิดผิวไข่ จึงได้กลบหลุมปล่อยให้มีการเพาะฟักตามธรรมชาติต่อไป นับเป็นการขึ้นวางไข่ครั้ง ที่ 2 ของจังหวัดภูเก็ต เป็นคนละตัวกับที่ในทอน เพราะมีขนาดรอย 155 เซนติเมตร ใหญ่กว่ารอยเดิมที่มีขนาด 130 เซนติเมตร แล้วจัดทำคอกและจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังภัยคุกคาม เป็นเวลาประมาณ 60 วัน เพื่อปล่อยให้มีการเพาะฟักตามธรรมชาติต่อไป





ข้อมูลอ้างอิง :






วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

✿ สรุป ลูกเต่ามะเฟืองกลุ่มแรกของปี 2563 ฟักออกจากรัง (รังที่ 1 / ลำดับที่ 1)

: วันที่ 19 มกราคม 2563 เวลา 06.20 น. :



     ตามที่แม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ตัวแรก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2562 บริเวณหาดท้ายเหมือง ภายนอกเขตอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง ไปทางทิศใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร แม่เต่ามีขนาดความยาว 194 เซนติเมตร ความกว้าง 173 เซนติเมตร ความยาวพายหน้าจากปลายพายข้างซ้ายไปขวา 197 เซนติเมตร วางไข่รวม 104 ฟอง เป็นไข่ดี 85 ฟอง ไข่ลม 19 ฟอง ต่อมาได้ย้ายไข่ดีไปฟักในหลุมฟักไข่แห่งใหม่ บริเวณชายหาดในเขตอุทยานฯ และปล่อยให้ฟักเองตามธรรมชาติ โดยรอวันฟักมาแล้ว 63 วัน วันนี้ เวลาประมาณ 06.20 น. ลูกเต่ามะเฟืองตัวแรกได้ฟักออกมาและคลานขึ้นมาจากหลุมแล้ว


คลิปลูกเต่ามะเฟืองตัวแรก











: วันที่ 19 มกราคม 2563 เวลา 20.30 น. :

     เจ้าหน้าที่กรม ทช. ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-ท้ายเหมือง ได้วางแผนและขุดผ่ารังช่วยลูกเต่ามะเฟืองในการฟักหลุมแรกที่หาดท้ายเหมือง สรุปได้ลูกเต่ามะเฟือง (รวมตัวเมื่อเช้าแล้ว) 30 ตัว เป็นตัวที่แข็งแรง 24 ตัว จึงนำไปปล่อยลงทะเล ส่วนอีก 6 ตัว ยังอ่อนแอ จึงนำไปอนุบาลต่อก่อนพิจารณาปล่อยลงทะเลต่อไป ส่วนไข่ที่ไม่ได้ฟักมีรวม 55 ฟอง ได้นำไปฝังกลบใต้ผิวทรายบริเวณที่เดิม เพื่อให้มีการพัฒนาเป็นตัวที่สมบูรณ์อีกรอบ และคาดว่าอีกประมาณ 1-2 วัน อาจจะฟักออกเป็นตัวเพิ่มอีก





: Update วันที่ 20 มกราคม 2563 :

     วันที่ 20 มกราคม 2563 ศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน ตรวจสุขภาพลูกเต่ามะเฟือง ที่พักฟื้นไว้ที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมืองรวม 3 ตัว ซึ่งฟักเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา บริเวณหาดท้ายเหมือง ผลการตรวจสุขภาพพบว่าลูกเต่ามะเฟือง 2 ตัว มีสภาพร่างกายสมบูรณ์ครบถ้วน สภาพแข็งแรง ส่วนของถุงไข่แดงบริเวณหน้าท้องเริ่มมีการปิด ส่วนของกระดองหลังมีลักษณะเป็นฝ้าสีขาว สันนิษฐานเบื้องต้นว่ามีการติดเชื้อรา สัตวแพทย์จึงเก็บตัวอย่างเชื้อราด้วยวิธีเพาะเชื้อและนำไปตรวจหาเชื้ออื่น ๆ  เพิ่มเติม จากนั้นจึงรักษาเบื้องต้นด้วยการล้างด้วยน้ำเกลือบริสุทธิ์และเช็ดฆ่าเชื้อ ก่อนพิจารณาปล่อยคืนสู่ทะเลในช่วงกลางคืนวันนี้ ส่วนอีก 1 ตัวยังมีสภาพร่างกายอ่อนแรง และยังคงเหลือถุงไข่แดงบริเวณหน้าท้อง จึงประสานให้มีการเฝ้าสังเกตุอาการตลอด 24 ชั่วโมง โดยเตรียมกะบะทรายที่สะอาด และติดตามการยุบตัวของถุงไข่แดงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับให้ความชุ่มชื้นส่วนของกระดองหลัง เพื่อให้มีความสมบูรณ์ก่อนพิจารณาปล่อยคืนสู่ทะเลต่อไป





: Update 25 มกราคม 2563 :

     วันที่ 25 มกราคม 2563 กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน ตรวจสอบสภาพและความแข็งแรงของลูกเต่ามะเฟืองตัวสุดท้ายที่พักฟื้นไว้ หลังจากฟักออกจากไข่ชุดแรก จากหาดท้ายเหมือง ผลการตรวจสอบพบลูกเต่ามีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทุกประการ พร้อมกลับสู่ทะเล จึงนำลูกเต่าตัวสุดท้ายที่เหลือปล่อยลงสู่ทะเล












◕ 10 อันดับบทความยอดนิยมประจำสัปดาห์ ◕